สำนักงาน คปภ. เอาจริงกรณีฉ้อฉลประกันภัยส่งดำเนินคดี 49 คดี พร้อมเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามการฉ้อฉลประกันภัยด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ AI
สำนักงาน คปภ. เอาจริงกรณีฉ้อฉลประกันภัยส่ งดำเนินคดี 49 คดี
พร้อมเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการป้ องกันและปราบปรามการฉ้อฉลประกั นภัยด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ AI
นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดีและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (รองเลขาธิการ คปภ. ด้านกฎหมายฯ) เปิดเผยถึงการดำเนินการของสำนั กงาน คปภ. เกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยว่า ตามที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกั บการฉ้อฉลประกันภัย และสำนักงาน คปภ. ในฐานะเป็นหน่วยงานที่กำกับดู แลธุรกิจประกันภัย ได้ออกประกาศ คปภ. เรื่อง ให้บริษัทประกันชีวิต/ประกันวิ นาศภัย ยื่นรายงานเกี่ยวกับการฉ้ อฉลประกันภัย พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดให้บริษั ทรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกั บการฉ้อฉลประกันภั ยและรายงานพฤติกรรมที่มีเหตุอั นควรสงสัยว่าอาจมีลักษณะเป็ นการฉ้อฉลประกันภัย เพื่อให้สำนักงาน คปภ. มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ พฤติกรรม และลักษณะของการกระทำที่อาจเข้ าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัย และสามารถกำหนดแนวทางในการยับยั้ ง ป้องกัน ตรวจสอบ รายงาน และบรรเทาความเสียหายจากการฉ้ อฉลประกันภัย ประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกั บมาตรฐานสากลในการกำกับดูแลธุ รกิจประกันภัย
ในการบังคับใช้ประกาศ คปภ. ทั้ง 2 ฉบับ สำนักงาน คปภ. ได้มีการออกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กำหนดแบบรายงาน พฤติกรรมที่อาจมีลักษณะเป็ นการฉ้อฉลประกันภัย และช่องทางการรายงานการฉ้ อฉลประกันภัย สำหรับบริษัทประกันชีวิตและ/หรื อประกันวินาศภัย พ.ศ. 2564 ซึ่งกำหนดให้บริษัทประกันภั ยนำส่งรายงานดังกล่าวผ่านเว็ บไซต์ของสำนักงาน คปภ. ภายใน 30 วันนับแต่วันสุดท้ายของแต่ ละไตรมาส สำหรับประเภทกรมธรรม์ของบริษั ทประกันวินาศภัยที่มีการฉ้ อฉลประกันภัยและมีพฤติกรรมที่มี เหตุอันควรสงสัยว่าอาจมีลั กษณะเป็นการฉ้อฉลประกันภัยมากที่ สุดคือ กรมธรรม์รถยนต์และเบ็ดเตล็ด ส่วนประเภทกรมธรรม์ของบริษั ทประกันชีวิตที่มีการฉ้อฉลประกั นภัยและมีพฤติกรรมที่มีเหตุอั นควรสงสัยว่าอาจมีลักษณะเป็ นการฉ้อฉลประกันภัยมากที่สุดคือ กรมธรรม์ประกันชีวิต
รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายฯ กล่าวด้วยว่า สำนักงาน คปภ. ได้มีการตั้งคณะกรรมการพิ จารณากลั่นกรองคดีฉ้อฉลประกันภั ย ในปี 2566 เพื่อพิจารณาความผิดเกี่ยวกั บการฉ้อฉลประกันภัยในลักษณะต่าง ๆ ก่อนที่จะเสนอเลขาธิการพิจารณา เพื่อแจ้งความร้องทุกข์ จำนวน 49 คดี โดยแบ่งเป็น 5 กรณีที่สำคัญ ๆ ดังนี้ 1. กรณีเก็บเบี้ยไม่นำส่งบริษั ทประกันภัย จำนวน 6 คดี 2. กรณีคดีปลอมใบรับรองผลตรวจโควิ ด-19 จำนวน 21 คดี 3. กรณีจัดฉากชน (Bigbike) จำนวน 12 คดี 4. กรณีขายประกันภัยโดยไม่มีใบอนุ ญาต (โบรกเกอร์เถื่อน) จำนวน 3 คดี และ 5. กรณีหลอกขายประกันภัย จำนวน 7 คดี
ในขณะเดียวกันสำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินโครงการเกี่ยวกับการป้ องกันและปราบปรามการฉ้อฉลประกั นภัยแบบคู่ขนานไปพร้อม ๆ กัน เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและพั ฒนาระบบฐานข้อมูลรายงานการฉ้ อฉลด้านการประกันภัยด้วยระบบปั ญญาประดิษฐ์ โดยพัฒนาจากระบบเดิม ซึ่งเป็นเพียงการที่ให้บริษั ทรายงานข้อมูลพฤติกรรมการฉ้ อฉลประกันภัยเข้ามาเพียงอย่ างเดียว มาเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI และโครงการพัฒนาระบบแบ่งปั นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้ อฉลประกันภัยหรืออาจจะฉ้ อฉลประกันภัยกับภาคธุรกิจ ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่ วนบุคคล โดยจัดให้มีการวางระบบในการจั ดทำฐานข้อมูลการกระทำความผิ ดของตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัย ออกระเบียบ/ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิ จารณาคุณสมบัติ และความเหมาะสมของตั วแทนและนายหน้าประกันภัย เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนิ นการของบริษัทให้อยู่ภายใต้หลั กธรรมาภิบาล การบริหารความเสี่ยง รวมถึงการจัดการเรื่องความรับผิ ดต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน กรณีบริษัทประกันภัยได้พิ จารณาตกลงรับ ตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้ าประกันภัยที่มีประวัติ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้ อฉลประกันภัยหรือถูกเพิ กถอนใบอนุญาตการเป็นตัวแทนหรื อนายหน้าประกันภัย หรือมีประวัติอาชญากรรมในความผิ ดเกี่ยวกับทรัพย์เข้ามาเป็นตั วแทนหรือนายหน้าในสังกัดของบริ ษัทประกันภัย
…